FAQ's

FAQ's

Frequently Asked Questions

- มีประสบการณ์ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างมากว่า 15 ปี

- มีประกันวิชาชีพมูลค่า 50 ล้านบาทต่อโครงการ

- มีพันธมิตรหลายแบรนด์ เพื่อเป็นตัวเลือกให้เหมาะสมต่อการใช้งานของลูกค้า

- ขอรับการส่งเสริมจาก BOI ให้ฟรีในกรณีผู้ลงทุนโซล่าประกอบกิจการที่อยู่ในเงื่อนไขที่ได้รับการส่งเสริม BOI

- มีบริการดูแลหลังการขาย ตรวจเช็คสภาพระบบ และ Monitoring ทุกวันโดยวิศวกรมืออาชีพ

- มีบริการสินเชื่อเพื่อการลงทุนของธนาคาร ให้ลูกค้าได้สะดวกในการขอสินเชื่อ

- มีบริการลงทุนระบบโซล่าเซลล์ให้ฟรี กรณีที่ลูกค้าใช้ไฟตั้งแต่ 3 แสนบาทขึ้นไป

- ได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ชั้นนำของประเทศ เช่น ปตท. ทรู เครือโรงพยาบาลรามคำแหง

- พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานพลังงานหมุนเวียน ใช้ฟรี ไม่มีวันหมด

- เป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

- ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด

- ประหยัดค่าไฟฟ้าตั้งแต่วันแรกที่ติดตั้งระบบ

- คืนทุนเร็วภายใน 4 ปี

- ระบบโซล่าเซลล์ช่วยลดความร้อนบนหลังคา

- เนื่องด้วยปัจจุบันความต้องติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์มีการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันราคาแผงโซล่าร์และอินเวอร์ตเตอร์เพิ่มขึ้น 20% จากปี 2019

- อนาคตระบบโซล่าอาจจะมีต้นทุนในการติดตั้งเพิ่มขึ้นแต่จากค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ระบบโซล่าเป็นแหล่งพลังงานที่คุ้มค่าที่สุด

- ต้องติดตั้งเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าตามมาตรฐานวสท. หลักการทำงานของอุปกรณ์แผงโซล่าเซลล์ แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และส่งพลังงานไฟฟ้าไปยั่งอินเวอร์ตเตอร์

- อินเวอร์ตเตอร์ มีหน้าทีแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) ไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternative Current) ที่เป็นประเภทกระแสไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้

- อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า มีหน้าทีตัดกระแสลัดวงจร และป้องกันไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้าขัดข้อง

- ไม่มีผลกระทบแต่อย่างใดเพราะอินเวอร์เตอร์ ได้แปลงไฟฟ้ามาเป็นกระแสสลับพร้อมทั้งปรับแรงดันไฟฟ้าให้เสถียรก่อนจ่ายเข้ามายังตู้โหลดไฟฟ้าภายในอาคาร เราจะปรับแรงดันไฟฟ้าให้สูงกว่าการไฟฟ้าจ่ายเข้ามาเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ไฟฟ้าจากระบบโซล่าถูกดึงไปใช้ก่อนเป็นแหล่งแรกโดยอัตโนมัติ กรณีที่ระบบโซล่าผลิตไฟไม่พอต่อการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น โซล่าผลิตได้ 60% ของความต้องการ ส่วน 40% ที่เหลืออาคารจะใช้ไฟจากการไฟฟ้าจะเข้ามาผสมให้ครบ 100% โดยอัตโนมัติ
- แนวคิดการรับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้า คือ ติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อใช้รองรับการใช้งานก่อน หากเหลือจากการใช้งาน ถึงขายคืนการไฟฟ้ายกตัวอย่างเช่น บ้านไม่อยู่บางวัน , โรงพยาบาลของรัฐที่ปิดแผนก OPD ในวันเสาร์อาทิตย์ , โรงเรียนที่หยุดในวันเสาร์อาทิตย์ ดีกว่าการปล่อยให้ช่วงที่ไม่ได้ใช้งานเสียเปล่า โดยราคาซื้อไฟจากการไฟฟ้า 4.42 บาทต่อหน่วย ขายคืนให้กับการไฟฟ้า 2.20 บาทต่อหน่วย
ระบบ Off-Grid คือระบบโซล่าเซลล์ที่ถูกออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชลบทที่ไม่มีระบบสายส่งของการไฟฟ้า

ข้อดี

- ผลิตไฟฟ้าแบบอิสระ ไม่เชื่อมกับสายส่งของการไฟฟ้า

- ไม่ต้องขออนุญาตการไฟฟ้าเนื่องจากไม่มีการเชื่อมกับระบบของการไฟฟ้า

- เหมาะกับผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า

ข้อเสีย

- ต้องมีแบตเตอรี่หรือระบบกักเก็บพลังงานในการสำรองไฟใช้กลางคืน

- การใช้ไฟฟ้าถูกจำกัดด้วยขนาดของแบตเตอรี่

- แบตเตอรี่ราคาแพง ต้องการการลงทุนสูง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง

ระบบ On-Grid คือระบบโซล่าเซลล์ที่ถูกออกแบบสำหรับใช้งานในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง

ข้อดี

- ผลิตพลังงานตลอดเวลามีแสงแดด

- สามารถขายไฟคืนการไฟฟ้าได้ในกรณีประเภทผู้ใช้ไฟเป็นประเภทบ้านเรือน (ในอัตรา 2.20 บาท ต่อหนึ่งหน่วย)

- สามารถใช้ไฟฟ้าขนานกับระบบไฟฟ้าของสายส่งกฟน./กฟภ.ได้

- สามารถผลิตเพื่อใช้เองและลดค่าไฟได้ มีจุดคุ้มทุนเร็วที่สุด และค่าบำรุงรักษาต่ำ เหมาะกับผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ในชุมชนและพื้นที่ที่อยู่ใกล้สายส่งการไฟฟ้า

ข้อเสีย

- ต้องขออนุญาตการไฟฟ้าและติดตั้งตามมาตรฐานข้อกำหนดการไฟฟ้า กฟน./กฟภ.

- เมื่อระบบสายส่งการไฟฟ้าดับระบบโซล่าเซลล์จะดับไปด้วย

- แผงโซล่าโรงงานรับประกัน ผลิตภัณฑ์ 12 ปี และรับประกันประสิทธิภาพผลิตไฟไม่ต่ำกว่า 80% อยู่ที่ 25 ปี เมื่อครบ 25 ปี แผงยังคงใช้งานได้อยู่ แต่ประสิทธิภาพลดลง

- Inverter รับประกันจากโรงงาน Huawei 5 – 10ปี , Solar Edge 12 ปี ปกติจะคิดว่าเปลี่ยนในปีที่ 13 หรือซื้อประกันเพิ่มได้ถึง 20 ปี

- รับประกันงานติดตั้งเบื้องต้น 2 ปี

- แผงโซล่าร์มีการรับประกันประสิทธิภาพผลิตไฟได้ไม่ตำกว่า 80% ในปีที่ 25 เมื่อครบ 25 ปีแล้ว แผงยังคงใช้งานได้อยู่แต่ประสิทธิภาพอาจลดลง

- อินเวอร์ตเตอร์มีอายุการใช้งานฉลี่ยอยู่ที่ 13-20 ปี มีประกันอุปกรณ์จากโรงงานผู้ผลิต

- Huawei ประกัน 5 -10 ปี สามารถซื้อประกันเพิ่มได้ถึง 20 ปี

- SolarEdge ประกัน 12 ปี สามารถซื้อประกันเพิ่มได้ถึง 20 ปี

- สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ช่วงกลางคืนได้โดยการติดตั้งระบบแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานจากระบบโซล่า ระบบโซล่าจะถูกออกแบบให้ผลิตไฟฟ้าเพียงพอเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันและสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ เช่นถ้าบ้านใช้ไฟกลางวันอยู่ที่ 3kW เราสามารถออกแบบระบบโซล่าร์ 5kW เพื่อรองรับการใช้ไฟกลางวันและมีไฟเพียงพอสำหรับชาร์จแบตเตอรี่
สามารถนำไปชาร์จได้

- option 1 AC ไฟที่ผลิตจากระบบโซล่าได้ถูกแปลงมาเป็นกระแสสลับเข้าตู้ไฟหลัก สามารถจ่ายได้ทุกอุปกรณ์

- option 1 DC โซล่าเซลล์ผลิตไฟออกมาเป็น DC เลย แล้วเข้าตู้ ชาร์จแบบ DC ได้เลย

Tier1 เป็นประเภทโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่ถูดจัดอันดับด้วย Bloomberg

- บลูมเบิร์ก (Bloomberg ) บริษัทผู้ให้บริการด้านข้อมูล วิเคราะห์ทางด้านการเงินการลงทุนจึงได้จัดอันดับแผงโซล่าเซลล์ของแต่ละบริษัทเอาไว้เป็น 3 อันดับ ได้แก่ Tier 1, Tier 2 และ Tier 3* เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนด้านโครงการโซล่าเซลล์

- แผงtier 1 คือเป็นแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งอยู่ใน Investment Grade หรือ อยู่ในกลุ่มที่สามารถลงทุนได้นั่นเอง ไม่สูญเงินในการลงทุนเพราะแผงเจ๊งไปก่อนครบอายุใช้งาน หรือใช้ไปแล้วประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก จนไม่คุ้มค่าการลงทุน โดยทาง EME เราเลือกใช้ แผง tier 1 ที่ติดอันดับ Top 3

- พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าใช้งานไม่หมด และไม่ได้ขายไฟ ระบบจะทำการ Dischargeทิ้ง ส่งผลให้คืนทุนนานขึ้นอีก แต่ถ้าทำการติดตั้งกับทางEME เราจะทำการคำนวนจากการความต้องการใช้ไฟน้อยที่สุดเพื่อป้องกันการติดตั้งเกินความจำเป็น จะส่งผมให้การคิดคำนวณระยะเวลาคืนทุน มีความแม่นยำและจำเป็นต่อความต้องการการใช้ไฟฟ้า

-เมื่อระบบโซล่าร์ผลิตพลังงานมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในอาคาร ระบบจะถูกปรับกำลังผลิตลดลงด้วยอุปกรณ์Energy Meter เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ไฟฟ้าในอาคาร อุปกรณ์นี้จะถูกออกแบบตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า MEA/PEA

- EM Energy ทำการคำนวนความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุดเพื่อป้องกันการติดตั้งเกินความจำเป็น ซึ่งจะส่งผลให้ระยะเวลาคืนทุนมีความแม่นยำและระบบโซล่าร์สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด

- ใช้ได้ หากทั้ง 2 อาคารใช้ไฟฟ้าจากมิเตอร์การไฟฟ้าตัวเดียวกัน ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนอาคารที่ 1 กระแสไฟฟ้าสามารถส่งไปยังอาคาร 2

- ใช้ไม่ได้หากทั้ง2อาคารใช้ไฟฟ้าจากมิเตอร์การไฟฟ้าแยกกัน เนื่องด้วยการไฟฟ้ากำหนดให้1ระบบโซล่าสามารถเชื่อมต่อระบบของการไฟฟ้า 1มิเตอร์เท่านั้น

- ลูกค้าสามารถตรวจสอบค่าพลังงานที่ผลิตได้ ผ่านระบบ Application ทั้ง Android และ iOS หรือ Web Browser ของ Inverter แต่ละยี่ห้อ ได้แบบ Real time และทาง EME มีวิศวกร ประจำออฟฟิศคอยดูแลระบบ Monitoring ผ่านทาง Web Browser ตลอดเวลา ถ้าเกิด Site ไหนมีการผลิตที่ผิดปกติ จะทำการประสานงานและแก้ไขแบบ ออนไลน์ก่อนแต่ถ้าแก้ไขไม่ได้จะเข้าถึงหน้างานภายใน 72 ชั่วโมง

- ระบบโซล่าจะเริ่มผลิตได้ตั้งแต่มีแสงอาทิตมาตกกระทบกับแผงโซล่า ซึ่งถ้ามีแสงมากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะมาก แต่ถ้ามีแสงแดดอ่อนก็จะพลิตได้เพียงเล็กน้อย

- ไม่ปลิว เพราะ อุปกรณ์ยึดแผงโซลล่าได้มีการคำนวณ และมีการตรวจทดสอบแรงดึงที่ตัวอุปกรณ์จับยึดในแต่ละขั้นตอนเรามีการเช็ควัด ทอร์ค กับน็อตทุกๆตัว เพื่อแน่ใจว่าได้มาตราฐานงานติดตั้ง

- โดยปกติอาคารหรือโรงงานแต่ละหลังถ้าผ่านการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือ อ.1 แล้วจะมีการเผื่อน้ำหนักไว้ 30 กก./ตร.ม. แผงโซล่าและอุปกรณ์รวมกันจะมีน้ำหนักเพียง 13กก./ตร.ม.

- ไม่ผิดกฎหมาย ถ้า EM ENERGY จัดการยื่นขออนุญาตกับทางหน่วยงานราชการครบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น การขออนุญาตดัดแปลงอาคารกับท้องถิ่น , การขออนุญาตยกเว้นเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้า กับ กกพ. , การขออนุญาตขนานไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

- ในกรณีที่ระบบการทำงานของระบบโซล่าเซลล์เป็นแบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า หรือ ออนกริด (On-Grid) ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเป็นข้อกำหนดของการไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าในกรณีที่มีการซ่อมระบบ เพราะหากระบบไม่หยุดทำงาน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์ อาจจะย้อนเข้าระบบสายส่งและทำให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงานแก้ไขระบบไฟฟ้าได้

- ในกรณีที่มีแบตเตอร์รี่ และมีฟังชั่นแบคอัพ สามารถใช้ไฟฟ้าได้ขนาดไฟดับ

- EM Energy มีประกันงานติดตั้ง และฟรีค่าบำรุงรักษาให้นานถึง 2 ปี

- สามารถซื้อบริการบำรุงรักษาต่อได้เป็นรายปี

- กรณีที่มีความบกพร่องเสียหายหลังหมดประกัน ในส่วนอุปกรณ์ที่มีประกันจะฟรีค่าอะไหล่ คิดค่าบริการค่าแรงเปลี่ยนและซ่อมบำรุงตามจริง

- การยื่นขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ ได้แต่ ขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ประมาณ 45วัน

- ระยะเวลาในการติดตั้ง บ้าน ใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน ,โรงงานขนาด ประมาณ 100kW ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน , 500kW-1,000kW ใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 เดือน

- ยื่นขออนุญาตกกพ. ประมาณ 60 วัน และ ยื่นขออนุญาตการไฟฟ้า ประมาณ 90 วัน

- ควรทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำสะอาด และสามารถใช้น้ำยาล้างกระจกหากมีคราบน้ำมัน หรือสารที่ทำความสะอาดยาก

- การดูแลระบบโซล่าร์ควรให้ผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ด้านระบบโซล่าเซลล์