การขออนุญาตประกอบกิจการ EV Charging Station

  • Home
  • การขออนุญาตประกอบกิจการ EV Charging Station
Image

การขออนุญาตประกอบกิจการ EV Charging Station

 

*หมายเหตุ kVA หมายถึง ขนาดหม้อแปลงไฟฟ้า หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า หรือขนาดรวมของเครื่องประจุไฟฟ้า

ที่มา: https://www.erc.or.th

 

การประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger Station เข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการพลังงานที่ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน กกพ. โดยแบ่งตามลักษณะและขนาดการติดตั้ง ดังนี้

 

ใบอนุญาตในการประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า

 

การออกใบอนุญาตตามมาตรา 47 พ.ร.บ การประกอบกิจการพลังงาน

กรณีที่ 1: สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station มีขนาดการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งมีการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าหรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Grid-Connected Inverter) (แล้วแต่กรณี) ที่มีขนาดรวมตั้งแต่ 1,000 kVA ขึ้นไป โดยผู้ประกอบการต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายไฟฟ้าและยื่นขอเอกสารประกอบการขอรับใบอนุญาตตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตและการอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2551

 

กรณีที่ 2: สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger Station มีขนาดการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งมีการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าหรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Grid-Connected Inverter) (แล้วแต่กรณี) ที่มีขนาดรวมต่ำกว่า 1,000 kVA จะถือว่ากิจการดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการจำหน่ายไฟฟ้าตามพระราชกฤษฎีกากำหนดประเภท ขนาด และลักษณะของกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2552 (พ.ร.ก.แจ้งยกเว้น) โดยผู้ประกอบการต้องยื่นขอต่อสำนักงาน กกพ. พร้อมเอกสารประกอบตามประกาศ กกพ. เรื่องการกำหนดให้กิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตเป็นกิจการที่ต้องแจ้ง พ.ศ. 2551

 

นอกจากนี้เพื่อให้มีการกำกับมาตรฐานทางด้านวิศวกรรมและความปลอดภัยในการประกอบกิจการพลังงาน ขอให้ผู้ประกอบกิจการยื่นเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมประกอบการขออนุญาตในกรณีที่ 1 และ กรณีที่ 2 ดังนี้

  1. ต้นทุนการดำเนินการ
  2. เอกสารหลักฐานแสดงรายละเอียดการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า
  3. มาตรฐานด้านเทคนิคและความปลอดภัย
  4. หนังสือยินยอมให้เชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงานกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่น

 

การออกใบอนุญาตตามมาตรา 48 พ.ร.บ การประกอบกิจการพลังงาน

ในการะบวนการขออนุญาตประกอบกิจการชาร์จประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station ผู้ประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องยื่นขออนุญาตจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ดังนี้

1. กฎหมายว่าด้วยโรงงาน

การจัดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีลักษณะเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานจึงไม่เข่าข่ายต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4)

2. กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

กรณีการจัดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้ามีการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างอาคาร เข้าข่ายต้องขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องยื่นขอรับใบอนุญาตกับสำนักงาน กกพ. ทั้งนี้กรณีที่มีการต่อเติมหรือดัดแปลงสถานีบริการเชื้อเพลิงหรือก๊าซ เพื่อติดตั้งเครื่องชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า ผู้ขอรับใบอนุญาต

3. กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน

การจัดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้ามีลักษณะการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากเป็นการรับไฟฟ้ามาแปลงกระแส เพื่อจำหน่ายให้กับรถยนต์ไฟฟ้า จึงไม่เข้าข่ายต้องขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2) ทั้งนี้หากมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมจะเข้าข่ายต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานต่อไป

 

การเตรียมเอกสารเพื่อขอใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้า
  • ให้ผู้ประกอบการ Scan ไฟล์เป็นสีโดยให้แต่ไฟล์มีขนาดไม่เกิน 10 MB (เอกสารทุกรายการต้องเซ็นกำกับโดยผู้มีอำนาจลงนามก่อนทำการ Scan)
  • หนังสือมอบอำนาจให้จัดการหรือดำเนินการแทนตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 (ตามแบบที่สำนักงานกำหนด) และนำส่งฉบับจริงที่สำนักงาน กกพ. ดังตารางต่อไปนี้

 

หนังสือรับรองต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ในนามบริษัท/ห้างหุ้นส่วน ในนามหน่วยงานราชการ ในนามบุคคล
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีอายุหนังสือไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือถึงวันที่ยื่นแบบแจ้ง

 

(ในกรณีเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลต่างประเทศ ต้องมีการรับรองจากสถานทูตหรือกงศุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย)

 

สำเนาหนังสือจัดตั้งหน่วยงาน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือ Passport (แล้วแต่กรณี) ของผู้แจ้ง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)

 

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจทำการแทน ผู้แทนนิติบุคคล หรือผู้จัดการนิติบุคล และของผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง/ ดัดแปลงอาคาร (อ.1)
  • กรณีอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ใช้สำเนาใบอนุญาต กนอ. 02/2
  • กรณีอยู่นอกนิคมอุตสาหกรรม ใช้สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคาร (อ.1)

ที่มา: https://www.erc.or.th

 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องสอบถามสามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำปรึกษาฟรีได้ที่

อีเมล : onrampa@emenergy.co.th , mana@emenergy.co.th

Line : @emenergy

Facebook Fanpage : EM Energy

โทร  : 084-671-5999

 

“ อยากประหยัดค่าไฟ ไว้ใจ EM Energy ผู้เชี่ยวชาญด้านการลดค่าไฟด้วยการติดตั้งโซล่าเซลล์ ”

 

สามารถดูผลงานของเราเพิ่มเติมได้ที่

EM Energy : https://www.emenergy.co.th/project-reference/