ติดโซล่าเซลล์ให้กับธุรกิจด้วยสินเชื่อโซล่ารูฟท็อป
ที่มา : https://www.brandbuffet.in.th/2022/05
โรงงานอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในสถานที่ที่เหมาะกับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เป็นอย่างมาก เพราะว่าในโรงงานอุตสาหกรรมมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง โดยเฉพาะช่วงเวลากลางวันที่มีกิจกรรม หรือกระบวนการทำงานของโรงงาน โดยระบบโซล่าเซลล์จะผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆภายในโรงงานหรืออาคารในช่วงเวลากลางวัน ส่งผลให้สามารถลดพลังงานไฟฟ้าที่ซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าซึ่งส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมของโรงงานลดลง
หลังจากที่หลายๆธุรกิจเริ่มให้ความสนใจที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เพิ่มมากขึ้น ธนาคารหลายแห่งในไทยเริ่มให้ความสนใจในเรื่องระบบโซล่าเซลล์และเข้ามาสนับสนุนเจ้าของกิจการมากขึ้น ทำให้เจ้าของโรงงานมีทางเลือกในการลงทุนด้านพลังงานเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการลงทุนเอง หรือ กู้เงินจากธนาคารเพื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
ภาพแผงโซล่าเซลล์ บริษัท อาฟเตอร์ยู จํากัด มหาชน
ที่มา : EM Energy : https://www.emenergy.co.th/project-reference
สินเชื่อโซล่ารูฟท็อปกับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
สินเชื่อโซล่ารูฟท็อป เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้าในระยะยาว โดยทั่วไปแล้วการคืนทุนและความคุ้มค่าของการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ต้นทุนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์, อัตราค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน, อัตราผลตอบแทนทางการเงินจากการประหยัดค่าไฟฟ้า และอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคาร
ที่มา : https://www.kasikornbank.com/th/k-home-smiles-club
ข้อควรประเมินเพื่อความคุ้มค่าของการกู้เงินและการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
1. ต้นทุนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ : ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์มีผลต่อการคืนทุน ยิ่งราคาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ถูกลงมากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งก็ยิ่งลดน้อยลงเท่านั้น คุณภาพและประสิทธิภาพของระบบก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ควรถูกนำเข้าคำนวณเพื่อประเมินต้นทุนทั้งหมด.
2. อัตราผลตอบแทนทางการเงิน : ควรตรวจสอบกับธนาคารเพื่อดูอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อในการกู้ที่พร้อมให้บริการ และคำนวณผลตอบแทนในด้านการเงินจากการประหยัดค่าไฟฟ้าแบบรายปี เปรียบเทียบกับต้นทุนการกู้เงิน เพื่อดูว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่
3. อัตราการพัฒนาของเทคโนโลยีโซล่าเซลล์ : ตลาดและเทคโนโลยีโซล่าเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรพิจารณาถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต อาจมีเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ระบบโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น หรือ มีราคาติดตั้งที่ต่ำ ลง ซึ่งอาจมีผลต่อความคุ้มค่าของการกู้เงินในระยะยาว
4. ระยะเวลาคืนทุน: อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่จะคืนทุนของการลงทุนในระบบโซล่าเซลล์จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ, อัตราการประหยัดค่าไฟฟ้า, และราคาการใช้พลังงานไฟฟ้าปัจจุบัน ระยะเวลาเฉลี่ยที่จะคืนทุนอยู่ที่ประมาณ 3-8 ปี แต่อาจแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขและตัวแปรที่กล่าวมาข้างต้น
ที่มา : https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000083644
ข้อดีของสินเชื่อโซล่ารูฟท็อป
1. ลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงาน : การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ทำให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สามารถใช้ได้พื้นที่ของตัวเอง ทำให้ลดความจำเป็นในการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากผู้ให้บริการพลังงานภายนอก ซึ่งส่งผลให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าในระยะยาว
2. ลดต้นทุนในระยะยาว : การลงทุนในระบบโซล่าเซลล์อาจมีค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้ง แต่ในระยะยาว ผู้ที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์สามารถประหยัดเงินได้จากการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพลังงานไฟฟ้า การผ่อนชำระเงินกู้ธนาคารอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและสามารถช่วยลดต้นทุนในระยะยาวได้
3. ประหยัดพลังงานและช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม : การใช้พลังงานที่เป็นหมวดหมู่สะอาดนอกจากสามารถลดค่าไฟได้แล้ว ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปยังบรรยากาศ เป็นหนึ่งในการร่วมมือในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ในสถานประกอบการสามารถช่วยลดการใช้พลังงานที่ใช้ในการผลิตและลดอัตราการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานที่ไม่สะอาด
ที่มา : https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000083644
รายชื่อธนาคารที่เปิดให้สมัครสินเชื่อโซล่ารูฟท๊อป
1.ธนาคารกรุงไทย – สินเชื่อธุรกิจเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (Green Lending)
อัตราดอกเบี้ย (Size sSME)
กรณีในการกู้ยืม | อัตราดอกเบี้ย (Size sSME) |
กรณีไม่ใช้ บสย. ค้ำประกัน | MRR – 1.00% |
กรณีใช้ บสย. ค้ำประกันบางส่วน | MRR – 0.75% |
กรณีไม่มีหลักประกัน Clean Loan | MRR – 0.50% |
กรณีใช้ บสย. ค้ำประกันเต็มวงเงิน | MRR – 0.25% |
** ปัจจุบัน MRR = 7.32%/ปี
ที่มา : https://krungthai.com/th/corporate/ktb-business-loan/163/539
2.ธนาคารออมสิน – สินเชื่อ GSB for BCG Economy
อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น: MLR – 1.50%
กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มวงเงินกู้ | อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (ร้อยละต่อปี) |
1.1 เงินกู้ระยะสั้น | |
ปีที่ 1-2 | MOR – 1.50 |
ปีที่ 3 เป็นต้นไป | MOR |
1.2 เงินกู้ระยะยาว | |
ปีที่ 1-2 | MLR – 1.50 |
ปีที่ 3 เป็นต้นไป | MLR |
กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 | |
2.1 เงินกู้ระยะสั้น | |
ปีที่ 1-2 | MOR – 1.00 |
ปีที่ 3 เป็นต้นไป | MOR + 1.00 |
2.2 เงินกู้ระยะยาว | |
ปีที่ 1-2 | MLR – 1.00 |
ปีที่ 3 เป็นต้นไป | MLR + 1.00 |
กรณีใช้ บสย. ค้ำประกันเต็มวงเงินกู้ หรือร่วมกับหลักประกันเสริมอื่น | |
3.1 เงินกู้ระยะสั้น | |
ปีที่ 1-2 | MOR |
ปีที่ 3 เป็นต้นไป | MOR + 2.00 |
3.2 เงินกู้ระยะยาว | |
ปีที่ 1-2 | MLR |
ปีที่ 3 เป็นต้นไป | MLR + 2.00 |
ที่มา : https://www.gsb.or.th/news/prnews-16-66
3.ธนาคารกรุงเทพ – สินเชื่อ Bualuang Green Solar Energy
ระยะเวลากู้ยืม | อัตราดอกเบี้ย |
1-2 ปี | MLR-1.25% |
> 2 ปี | MLR-1.00% (ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 8 ปี) |
ที่มา : https://www.bangkokbank.com/th-TH/Business-Banking
4.ธนาคารกสิกร – สินเชื่อ Go Green
ระยะเวลากู้ยืม | อัตราดอกเบี้ย |
5 ปี | รายได้ < 400 ลบ. = MLR-1.00% (6.02%)
รายได้ > 400 ลบ. = MLR-2.00% (5.02%) |
> 5 – 8 ปี | รายได้ < 400 ลบ. = MLR-0.80% (6.22%)
รายได้ > 400 ลบ. = MLR-1.80% (5.22%) |
อัตราดอกเบี้ยให้สินเชื่อ (ต่อปี)
ประเภท |
ดอกเบี้ย |
MLR (Minimum Loan Rate) |
7.02% |
MOR (Minimum Overdraft Rate) |
7.34% |
MRR (Minimum Retail Rate) |
7.05% |
ที่มา : https://www.kasikornbank.com/th/promotion/pages/homeloan-greenzero.aspx
5.ธนาคาร EXIM – สินเชื่อ Solar Orchestra
ระยะเวลากู้ยืม | อัตราดอกเบี้ย |
ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 2 ปี | Prime Rate – 2.00% ต่อปี |
ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 4 ปี | Prime Rate – 1.00% ต่อปี |
ที่มา : https://www.exim.go.th/th/Products_Services/SpecialPromotion
6.ธนาคารไทยพาณิชย์ – สินเชื่อ Green Forward
- อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น : MRR – 0.5% ต่อปี
ที่มา : https://www.scb.co.th/th/sme-banking
7.ธนาคารทหารไทย – สินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี (ttb solar rooftop solution)
ที่มา : https://www.ttbbank.com/th/sme/sme-sustainable-and-sufficient-funding/
8.ธนาคารกรุงศรี – สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อปเพื่อผู้ประกอบการ SME โดยกรุงศรี
ที่มา : https://www.krungsri.com/th/business/loans/solar-rooftop
สรุปสินเชื่อโซล่ารูฟท็อฟ มีความคุ้มค่าหากค่าใช้จ่ายในการติดตั้งต่ำ อัตราดอกเบี้ยสูงไม่เกินความสามารถในการผ่อนชำระ และมีอัตราผลตอบแทนทางการเงินที่ดีจากการประหยัดค่าไฟฟ้ารายปี อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาทุกปัจจัยและคำนึงถึงสถานะการเงินก่อนที่จะตัดสินใจในการกู้เงิน ในการลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หากกำลังพิจารณาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ในโรงงานของคุณ ต้องปรึกษากับผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่มีประสบการณ์เพื่อความคุ้มค่าและความปลอดภัย EM Energy ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านพลังงาน ออกแบบติดตั้งระบบประหยัดพลังงานในอาคารและระบบโซล่าเซลล์
ตัวอย่างผลงานของ EM Energy : https://www.emenergy.co.th/project-reference/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Facebook Fanpage : EM Energy
โทร : 084-671-5999