ระบบโซล่าเซลล์ คืออะไร (solar cells)
ระบบโซล่าเซลล์ คือ ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าระบบโซล่าเซลล์ (PV) เป็นระบบที่ดูดซับแสงจากดวงอาทิตย์และเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เซลล์เหล่านี้ทำจาก Semiconductor (เช่น ซิลิกอน) ต่อเข้าด้วยกันเป็นโมดูล (โมดูลเกิดจากเซลล์หลายๆเซลล์เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อให้เซลล์ทุกเซลล์ทำงานร่วมกัน) ในปัจจุบันแผงโซล่าทั่วไปจะมีเซลล์รวมกันประมาณ 144 เซลล์ต่อแผง
กระบวนการผลิตไฟฟ้า จะเริ่มต้นเมื่อสารกึ่งตัวนำในแผงโซล่าเซลล์ดูดซับแสงอาทิตย์ โดยแสงอาทิตย์จะทำให้พลังงานแสงอาทิตย์และแผงโซล่าเซลล์จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระบวนการจะเริ่มจากการที่อิเล็กตรอน (อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า) หลุดออกจากกัน ส่งผลให้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเกิดขึ้น
ไฟฟ้ากระแสตรงที่เกิดขึ้นจากแผงโซล่าเซลล์จะถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านเรือนโดยตรงไม่ได้ จึงต้องมีตัวแปลงไฟฟ้า จากกระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ (Inverter) แล้วส่งต่อไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านหรืออาคาร เพื่อให้เราสามารถใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆได้
ที่มา: https://solarhero.pea.co.th/th
ใครเหมาะกับการใช้ระบบโซล่าเซลล์บ้าง
ระบบโซล่าเซลล์เหมาะกับผู้ใช้ไฟทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ไฟขนาดเล็ก(ระดับครัวเรือน) จนถึงผู้ใช้ไฟขนาดใหญ่ (ระดับโรงงานอุสาหกรรม) ซึ่งระบบโซล่าเซลล์เป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน และมีค่าการบำรุงรักษาต่ำ เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการลดค่าไฟ แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากติดผลิตไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดมลพิษและไม่ปล่อยมลพิษออกสู่ธรรมชาติ
ส่วนประกอบของระบบโซล่าเซลล์
โดยระบบโซล่าเซลล์ จะมีส่วนประกอบหลักๆอยู่ 4 ส่วน ประกอบด้วย
- แผงโซล่าเซลล์
- โครงสร้างจับยึดแผงโซลาเซลล์
- อินเวอร์เตอร์
- สายไฟฟ้า
1. แผงโซล่าเซลล์
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง โดยปัจจุบัน แผงโซล่าเซลล์ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ โมโนคริสตัลไลน์ โพลีคริสตัลไลน์ และ แบบฟิล์มบาง
ข้อดีข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์แบบต่าง ๆ
1. โมโนคริสตัลไลน์
เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจากวัสดุเกรดดีที่สุด เป็นผลึกซิลิคอนชนิดเดียวกัน สังเกตง่ายเพราะผิวแผงโซล่าจะเป็นสีดำเนื้อเดียวกัน
ข้อดี
- ประสิทธิภาพสูง 18-24%
- ได้กำลังผลิตสูงกว่าแผงโซล่าชนิดอื่นเมื่อเทียบกับการใช้พื้นที่เท่ากัน
- อายุการใช้งานนาน
- เหมาะกับการใช้ในบ้านและโรงงาน
- มีการรับประกันอายุการใช้งานยาวนานจากโรงงานผู้ผลิต 25-30 ปี
ข้อเสีย
- ราคาแพงกว่าแผงโซล่าชนิดอื่นๆ
2. โพลีคริสตัลไลน์
เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าโมโนคริสตัลไนน์แต่สูงกว่าแบบฟิล์มบาง มีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อนจึงใช้ปริมาณซิลิคอนในการผลิตน้อยกว่าชนิดโมนาคริสตัลไลน์ สังเกตง่ายเนื่องด้วยผิวแผงโซล่าเป็นสีน้ำเงินเข้มจากการใช้ผลึกคริสตัลในการผลิต
ข้อดี
- ราคาถูกกว่าแผงโมโนคริสตัลไลน์
- ประสิทธิภาพอยู่ที่ 15-20 %
- อัตรา Heat loss ต่ำกว่าแผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์
ข้อเสีย (เมื่อเทียบกับแผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์)
- ประสิทธิภาพต่ำกว่า
- กำลังวัตต์ต่ำกว่าเมื่อใช้พื้นที่เท่ากัน
- อายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี
- รับประกันอายุการใช้งานจากโรงงานผู้ผลิตสั้นกว่าแผงโซล่าซลล์แบบโมโน
3. ฟิล์มบาง
เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแผงโซล่าเซลล์ 2 ประเภท ก่อนหน้า เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตจากผลึกซิลิคอน หรือ ผลึกชนิดอื่น ด้วยกระบวนการนำมาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น
ข้อดี
- มีกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน
- ราคาถูกสุดเมื่อเทียบกับแผงโซล่าเซลล์อีกสองชนิด
ข้อเสีย
- ประสิทธิภาพต่ำที่สุด (13-18%) เมื่อเปรียบเทียบกับแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่นกำลังวัตต์ต่ำที่สุดเมื่อใช้พื้นที่ติดตั้งเท่ากัน
- กำลังวัตต์ต่ำที่สุดเมื่อใช้พื้นที่ติดตั้งเท่ากัน
- อายุการใช้งานสั้น อยู่ประมาณ 10-15 ปี
แผงโซล่าเซลล์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ปัจจุบันแผงโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ แบบโมโนคริสตัลไลน์ เนื่องด้วยเป็นประเภทแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดและมีอายุการใช้งานนานทำให้คุ้มค่าที่สุดในการลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
ที่มา : https://qwikpower.com/types-of-solar-panels-advantages-and-disadvantages/
2. โครงสร้างจับยึดแผงโซลาแซลล์
โครงสร้างจับยึดแผงโซลาเซลล์เป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในระบบโซลาเซลล์ โดยโครงสร้างจับยึดแผงโซล่าเซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่รองรับแผงโซล่าเซลล์ที่จะยึดเข้ากับหลังคา ซึ่งนิยมเรียกว่า Mounting ในกรณีของหลังคาแบบเรียบ หรือ ติดตั้งบนพื้นดิน จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่สามารถรองรับแนวการวางแผงโซล่าเซลล์ได้ โดยมีการออกแบบให้หันหน้ารับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด
3. อินเวอร์เตอร์
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่แปลงพลังงานที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์ (เรียกว่าไฟฟ้ากระแสตรง – DC) เปลี่ยนเป็นพลังงานประเภทที่ใช้ในครัวเรือนหรือในโรงงานอุตสาหกรรม (เรียกว่าไฟฟ้ากระแสสลับ – AC) นอกเหนือจากนั้น เพื่อความปลอดภัยของระบบโซล่าเซลล์ที่มากขึ้น อินเวอร์เตอร์ยังมีอุปกรณ์ป้องกันที่ทำให้ปิดในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือเครือข่ายขัดข้อง อินเวอร์เตอร์ที่ได้รับการอนุญาตให้ติดตั้ง ตามกฎของการไฟฟ้าต้องผ่านการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนมาตรฐาน โดยจะมีการประกาศทางเว็บไซต์ของไฟฟ้า MEA/PEA
อินเวอร์เตอร์ที่นิยมใช้งานในระบบโซล่าเซลล์
รายชื่อผลิตภัณฑ์อินเวอร์ตเตอร์ที่ผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดสำหรับอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในระบบผลิตไฟฟ้าประเภทเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้านครหลวงประกาศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ปี2565
ที่มา : https://www.mea.or.th/m_upload/m_download/vspp/file_8d97f5dcf46a3a790822628a251acc68.pdf
สามารถดูรายชื่อผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดสำหรับอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในระบบผลิตไฟฟ้าประเภทเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคประกาศเมื่อวันที่ 18 เมษายน ปี 2565 ได้ที่ https://www.pea.co.th/Portals/0/Document/vspp/PQM/PEA-InverterList-4-2565.pdf
4. สายไฟฟ้า
สายไฟ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบโซล่าเซลล์ ทำหน้าที่ส่งผ่านพลังงานหรือสัญญาณไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
สายไฟที่นิยมใช้กันเป็นหลักๆในระบบโซล่าเซลล์ ได้แก่
- สาย DC เป็นตัวนำกระแสระหว่างแผงโซล่าเซลล์ และจากโซล่าเซลล์ไปหาอินเวอร์เตอร์
- สาย AC เป็นตัวนำกระแสระหว่างอินเวอร์เตอร์เข้าระบบไฟฟ้าเดิมของอาคาร
- สายสัญญาณเป็นตัวนำไฟฟ้าสัญญาณในระบบ และส่งข้อมูลขึ้นระบบ Monitoring
สายไฟกระแสตรง (DC)
ทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาของชนิดแผงโซล่าเซลล์ และ อินเวอร์ตเตอร์ สำหรับใช้ในการพิจารณาเลือกใช้ประเภทให้เหมาะกับความต้องการของผู้สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์หากสนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม EM Energy พร้อมให้บริการ ด้วยทีมช่างที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี พร้อมดูแลคุณตลอดเวลา มั่นใจได้เลยว่า การลงทุนติดตั้งการเรา จะคุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์
ตัวอย่างผลงาน Solar cell ของ EM Energy : https://www.emenergy.co.th/project-reference/
จะดีกว่าไหมถ้าสามารถประหยัดค่าไฟต่อเดือนได้หลักแสน EM energy เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบโซล่าเซลล์ ติดต่อเพื่อประเมินค่าไฟที่คุณสามารถลดได้ฟรี!! สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
Facebook Fanpage : EM Energy
โทร : 084-671-5999