ธุรกิจใดบ้างที่เข้าข่ายได้รับการส่งเสริมจาก BOI
BOI (The Board of Investment of Thailand) หรือที่คุ้นเคยกันดีในชื่อ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นสำนักงานที่ส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตลอดจนถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆกับนักลงทุนที่สนใจให้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตและส่งออกและแปรรูป
ตัวอย่างธุรกิจที่สามารถขอ BOI ได้แก่
ตัวอย่างสิทธิพิเศษที่จะได้รับจากการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรกร - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ (ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อน) - ลดหย่อนภาษีได้ 50% - ยกเว้น/ลดหย่อน อากรขาเข้าเครื่องจักร - ยกเว้น/ลดหย่อน อากรขาเข้าวัตถุดิบ - ยกเว้น อากรของนำเข้าเพื่อวิจัยและพัฒนา
ขั้นตอนการยื่นขอรับส่งเสริม BOI
1.ศึกษาข้อมูลและรับแบบคำขอ หาข้อมูลการยื่นขอรับสำหรับส่งเสริม BOI ได้จาก www.boi.go.th
2.ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน ผ่านระบบสนับสนุนการลงทุนยื่นออนไลน์เท่านั้นผ่านระบบ https://boiinvestment.boi.go.th
3.ชี้แจงโครงการ ติดต่อเจ้าหน้าที่กองบริหารการลงทุน 1-5 เพื่อนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อชี้แจ้ง โครงการภายใน 10 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ
4.วิเคราะห์โครงการ กองบริหารการลงทุน 1-5 วิเคราะห์โครงการพิจารณาตามขนาดการ
5.แจ้งผลพิจารรณา กองบริหารการลงทุน 1-5 แจ้ง ผลอนุมัติ/ไม่อนุมัติ ภานใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่รับรองรายงานประชุม
6.ตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน ตอบรับการส่งเสริมการลงทุน ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งมติโดยการออกแบบตอบรับการส่งเสริม (F GA CT 07)
7.ขอรับบัตรส่งเสริม ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนยื่นขอบัตรส่งเสริมนับตั้งแต่วันที่ตอบรับการส่งเสริมการลงทุน พร้อมหลักฐานประกอบพิจารณา การออกบัตร ภายใน 6 เดือน ได้ที่ช่องทาง กรอกผ่านระบบ www.boi.go.th
8.ออกบัตรส่งเสริม ดำเนินการออกบัตรส่งเสริม ภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่สำนักงานได้รับแบบฟอร์ม ขอรับบัตรส่งเสริมและหลักฐาน
กิจการที่สามารถยื่นขอ BOI ได้ตาม พ.ร.บ ส่งเสริมการลงทุน
ประเภทธุรกิจหรือกิจการที่สามารถขอส่งเสริมการลงทุนจะแบ่งออกเป็น “กองส่งเสริมการลงทุน” โดยจะมีทั้งหมด 4 กองส่งเสริมการลงทุน
กองส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรม BCG
1. อุสาหกรรมเกษตรและอาหาร โดยกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ มีดังนี้
1.1 กิจการเกษตรต้นน้ำ เช่น การปลูกไม้เศรฐกิจและพืชพลังงาน การขยายพันธุ์สัตว์หรือเลี้ยงสัตว์ ประมงน้ำลึก 1.2 กิจการเกษตรแปรรูป เช่น แป้ง น้ำมันหรือไขมันจากพืชหรือสัตว์ 1.3 กิจการเกษตรสมัยใหม่ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชหรือสัตว์ 1.4 กิจการสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตร และอาหาร เช่น การผลิตปุ๋ย การอบพืชและไซโล ห้องเย็น หรือ ขนส่งห้องเย็น
2. อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ
2.1 กิจการผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น เคมีชีวภาพ 2.2 กิจการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
3. อุตสาหกรรมการแพทย์
3.1 กิจการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือแพทย์ ยา 3.2 กิจการบริการทางการแพทย์และบริการสาธารณสุข เช่น สถานพยาบาล การบริการสาธารณสุข 3.3 กิจการวิจัยทางคลินิก
กองส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
1. อุตสาหกรรมเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ
1.1 กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ ชิ้นส่วน และการซ่อมแซม 1.2 กิจการผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์ 1.3 กิจการผลิตเลนส์ที่ไม่เข้าข่ายเครื่องมือแพทย์
2. อุตสาหกรรมยานยนต์
2.1 กิจการผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน 2.2 กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 2.3 กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ 2.4 กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ และจักรยานยนต์ไฟฟ้า
3. อุตสาหกรรมอากาศยานและอวกาศ
4. อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
4.1 กิจการผลิตยานพาหนะและระบบอาวุธเพื่อการป้องกันประเทศ 4.2 กิจการผลิตยานไร้คนขับเพื่อการป้องกันประเทศ 4.3 กิจการผลิตหรือซ่อมแซมอาวุธ
5. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
5.1 กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ 5.2 กิจการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน 5.3 กิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์และชิ้นส่วน
กองส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน
1. อุตสาหกรรมแร่
1.1 กิจการสำรวจแร่ ทำเหมืองแร่
2. อุตสาหกรรมวัสดุ
2.1 กิจการผลิตวัสดุ เช่น แก้ว เซรามิกส์ วัสดุทนไฟ
3. กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายในอุตสาหกรรมวัสดุ
4. อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ
5. อุตสาหกรมมเคมี ปิโตรเคมี และพลาสติก
6. สาธารณูปโภค
7. การพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจการอุตสาหกรรม
กองส่งเสริมกางลงทุน อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และบริการที่มีมูลค่าสูง
1. อุตสาหกรรมดิจิทัล
1.1 กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์ม 1.2 กิจการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตัล
2. การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
3. อุตสาหกรรมเบา
3.1 กิจการบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 3.2 กิจการผลิตกระเป๋า 3.3 กิจการผลิตสิ่งพิมพ์
4. อุตสาหกรรมภาพยนต์
5. กิจการบริการเฉพาะทาง
6. กิจการด้านท่องเที่ยว
7. กิจการโลจิสติกส์
โดยในการยื่นขอ BOI แต่ละกิจการก็จะมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าหากลูกค้ามีความสนใจที่จะยื่นขอ BOI แต่ไม่แน่ใจว่าธุรกิจของลูกค้าเองนั้นตรงกับเงื่อนไขหรือไม่ ทางเรา EM energy มีบริการและทีมงานที่จะคอยตรวจสอบข้อมูลและยื่นขอส่งเสริมการลงทุน ให้กับธุรกิจของลูกค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ถ้าหากสนใจปรึกษาติดต่อเราได้ที่
ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำปรึกษาฟรีได้ที่
อีเมล : onrampa@emenergy.co.th , mana@emenergy.co.th
Line : @emenergy
Facebook Fanpage : EM Energy
โทร : 084-671-5999
“ อยากประหยัดค่าไฟ ไว้ใจ EM Energy ผู้เชี่ยวชาญด้านการลดค่าไฟด้วยการติดตั้งโซล่าเซลล์ ”
สามารถดูผลงานของเราเพิ่มเติมได้ที่