ติดตั้งโซล่าเซลล์สุดคุ้ม รับมือค่าไฟบ้านที่เพิ่มขึ้น
ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news
กกพ. เคาะค่าเอฟที 98.27 สตางค์/หน่วย ทำให้ค่าไฟประเภทบ้านที่อยู่อาศัยปรับขึ้นเป็น 4.77 บาทต่อหน่วย มีผลตั้งแต่พ.ค. – ส.ค. 66 นี้
จากการประชุมล่าสุด สรุปว่าค่าไฟเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย จากเดิมอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟประเภทบ้านที่อยู่อาศัยปรับขึ้นจากเดิมอยู่ที่ 0.05 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ฯลฯ จะปรับลดลง 0.56 บาทต่อหน่วย ได้รับการยืนยันจากการไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อย ทำให้ การลดค่าไฟ โดยการติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นที่สนใจมากขึ้น เพราะนอกจากช่วยลดอัตราการใช้ไฟแล้ว ยังช่วยผลิตไฟอีกด้วย ส่งผลให้ค่าไฟต่อเดือนลดน้อยลง
ข้อดีของการติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย
อย่างที่ทุกคนทราบว่า โซล่าเซลล์ คือ ระบบประหยัดพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศจากการผลิตไฟฟ้า เพราะรับพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรง แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่บ้าน ก็คือ
- จ่ายค่าไฟถูกลง เนื่องจากโซล่าเซลล์ช่วยผลิตไฟในขณะที่เครื่องไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านทำงานปกติ โดยจะผลิตพลังงานตลอดเวลาเมื่อมีแสงแดด
- สามารถเพิ่มระบบกักเก็บพลังงานไว้ใช้ในเวลากลางคืนได้
- สามารถขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้ในวันที่ไม่ใช้ไฟ หรือไม่อยู่บ้าน (ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี)
- ค่าบำรุงรักษาต่ำ คืนทุนเร็ว
Flow Chart ขั้นตอนดำเนินการ
ที่มา : https://drive.google.com/file/d/1lvrWwkUD35Y3XD73aHVV2Zweuq6UiUSL/view?usp=sharin
ขั้นตอนการยื่นขอขายไฟฟ้า (ได้ทั้ง PEA และ MEA)
1. ยื่นขอจำหน่ายไฟฟ้า กฟภ./กฟน.
เริ่มจากยื่นแบบขอจำหน่ายไฟฟ้า / ใบขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า และข้อมูลประกอบต่อกฟภ./ กฟน. หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนตรวจสอบเอกสาร และแจ้งผลให้ทราบและค่าใช้จ่ายให้ทราบภายใน 15 วัน
2. ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
ต้องทำสัญญาซื้อขายภายใน 60 วัน นับจากวันที่ กฟภ.มีหนังสือตอบรับการขายไฟฟ้า โดยเตรียมเอกสารในการทำสัญญา และทางกฟภ./กฟน. จะจัดทำสัญญาและให้ผู้ขายลงนาม
3. การพิจารณาอนุญาตให้ขนานเครื่องกำเนินไฟฟ้ากับระบบของกฟภ.
หลังลงนาม หรือติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แล้วต้องส่งรายละเอียดแบบแปลนการติดตั้งทั้งหมดให้ กฟภ./กฟน. ตรวจสอบเพื่อพิจารณา โดยจะมีการไปสำรวจ ปรับปรุงระบบจำหน่าย รวมถึงแจ้งค่าใช้จ่าย และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ทางกฟภ./กฟน. จึงจะดำเนินการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ หลังจากผู้ขายไฟชำระค่าใช้จ่าย
4. ทดสอบการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานกับระบบจำหน่ายของกฟภ.
เมื่อระบบพร้อมแล้ว กฟภ./กฟน. จะทำการทดสอบเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานกับระบบจำหน่ายภายใน 30 วัน ผู้ขายต้องแสดงใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม ใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า และใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า กำหนดวันทดสอบภายใต้ข้อกำหนดของ กฟภ.
5. เริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า
ผู้ขายไฟ และ กฟภ./กฟน. สามารเริ่มต้นขายไฟฟ้าใน 15 วัน นับจากผ่านการทดสอบเสร็จสิ้น โดยจะมีการกำหนดวันเริ่มต้นขาย การชี้แจงรายละเอียดต่างๆ รวมไปถึงการลงนามร่วมกัน
แบบฟอร์มการดำเนินการ PEA : https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1fmoQ-jIiv7pqeB-guivSAnZyPm5fOmxG
แบบฟอร์มการดำเนินการ MEA : https://www.mea.or.th/download/117
ติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย คุ้มมั้ย?
ตลอดอายุการใช้งานที่มากกว่า 25 ปี จากการลงทุนเพียงครั้งเดียว จุดคุ้มทุน หรือการคืนทุนโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ระหว่าง 5-8 ปี ส่งผลให้ผู้ที่ติดตั้งได้กำไรกลับคืนมาจากการประหยัดค่าไฟลดลงตั้งแต่ปีที่ 9 จนถึงปีที่ 25 เป็นเท่าตัวถ้าเทียบจากเงินลงทุนครั้งแรก โดยระยะคืนทุนขึ้นอยู่กับขนาดที่ติดตั้ง และอัตราการใช้ไฟจริง
ทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาของผลประโยชน์ในการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อรับมือกับค่าไฟที่เพิ่มขึ้น หากสนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม EM Energy พร้อมให้บริการ ด้วยทีมช่างที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี พร้อมดูแลคุณตลอดเวลา มั่นใจได้เลยว่า การลงทุนติดตั้งการเรา จะคุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์
ตัวอย่างผลงาน Solar cell ของ EM Energy : https://www.emenergy.co.th/project-reference/
จะดีกว่าไหมถ้าสามารถประหยัดค่าไฟต่อเดือนได้หลักแสน EM energy เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบโซล่าเซลล์ ติดต่อเพื่อสอบถามประเมินค่าไฟที่คุณสามารถลดได้ ฟรี!! สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
Facebook Fanpage : EM Energy
โทร : 084-671-5999